รพ.สต.บ้านน้ำตก http://pabon211.siam2web.com/

จัดการขยะลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกันนะครับ

  ปัจจุบันปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นขยะจากคนในเมืองเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขยะส่วนใหญ่มาจากวัสดุที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น เศษกระดาษ ขวดพลาสติก กระป๋อง เศษแก้ว เราสามารถจัดเก็บและกำจัดขยะได้น้อยมาก ขยะจึงตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆและสร้างปัญหามลพิษต่อตัวเราและชุมชน

 

จากรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่าปริมาณขยะทั่วประเทศในปัจจุบันมีทั้งสิ้นมีมากกว่า 40,000 ตันต่อวัน โดยในกรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรกว่า  6  ล้านคนในปัจจุบัน  มีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้วันละประมาณ 8,500 ตัน หรือร้อยละ 21 ของขยะในประเทศไทย และขยะที่เก็บได้เป็นขยะประเภทพลาสติก 1,800 ตันต่อวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บ 1.8 ล้านบาทต่อวัน

 

 

 ขยะ (Waste)

                ขยะ หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid Waste) มีผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจเนื่องจากความสกปรก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษและทัศนะอุจาด

 

มูลฝอย (Solid Waste)

                มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น

 

  

ประเภทของขยะ

1.) ขยะเปียกหรือขยะสด (Garbage) มีความชื้นปนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 จึงติดไฟได้ยาก ส่วนใหญ่ได้แก่ เศษอาหาร เศษเนื้อ เศษผัก และผักผลไม้จากบ้านเรือน ร้านจำหน่ายอาหารและตลาดสด รวมทั้งซากพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ขยะประเภทนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายอินทรีย์สาร นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคโดยติดไปกับแมลง หนู และสัตว์อื่นที่มาตอมหรือกินเป็นอาหาร

 

2.) ขยะแห้ง (Rubbish) คือ สิ่งเหลือใช้ที่มีความชื้นอยู่น้อยจึงไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น จำแนกได้ 2 ชนิด คือ

     - ขยะที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นพวกที่ติดไฟได้ เช่น เศษผ้า เศษกระดาษ หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง

     - ขยะที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ เศษโลหะ เศษแก้ว และเศษก้อนอิฐ

3.) ขยะอันตราย (Hazardous waste) เป็นขยะที่มีภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม อาจมีสารพิษ ติดไฟหรือระเบิดง่าย ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ไฟแช็กแก๊ส กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หรืออาจเป็นพวกสำลีและผ้าพันแผลจากสถานพยาบาลที่มีเชื้อโรค

  

  แนวทางในการลดขยะ 

แนวทางการลดขยะมูลฝอย  ใช้แนวคิด  7 R  คือ

1.             REFUSE   การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่องโฟม หรือ ขยะมีพิษอื่น ๆ

2.             REFILL       การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย

3.             RETURN     การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่างๆ

4.             REPAIR  การซ่อมแซมเครื่องใช้ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ

5.             REUSE   การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ใช้ถุง ผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ

6.            RECYCLE   การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภัณฑ์ พลาสติก แก้ว กระป๋องเครื่องดื่มต่าง ๆ

7.             REDUCE      การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

 

 ระยะเวลาการย่อยสลายของขยะ 

ชนิดของขยะ

ระยะเวลา

   เศษกระดาษ

   2-5 เดือน

   เปลือกส้ม

   6 เดือน

   ถ้วยกระดาษเคลือบ

   5 ปี

   ก้นบุหรี่

   12 ปี

   รองเท้าหนัง

   25-40 ปี

   กระป๋องอะลูมิเนียม

   80-100 ปี

   ถุงพลาสติก

   450 ปี

   ผ้าอ้อมสำเร็จรูป      

   500 ปี

   โฟม

   ใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย

 ขยะมีค่า อย่าคิดแค่ทิ้ง

ด้วยความปรารถนาดีจากทีมสุขภาพ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำตก

  

 


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 4,330 Today: 2 PageView/Month: 14

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...